โรคลำไส้อักเสบ ( Parvoviral Enteritis)
โรคลำไส้อักเสบหรือโรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส (Parvoviral Enteritis) เป็นโรคติดต่อของ ระบบทางเดินอาหารที่มีการระบาดได้อย่างรวดเร็วลูกสุนัขป่วยตายเนื่องจากสูญเสียเลือดและน้ำจาก ร่างกายกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงลูกสุนัขในประเทศ ไทยค่อนข้างมาก สาเหตุ เกิดจากเชื้อเคไนน์ พาร์โวไวรัส ไทป์ 2 การติดต่อเกิดขึ้นโดยการกินอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อในอุจจาระ น้ำลาย หรือสิ่งอาเจียนของสัตว์ป่วย
อาการ ลูกสุนัขอายุ 3-8สัปดาห์ อาจตายกระทันหันเนื่องจากหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนมากสัตว์มีไข้สูง อาเจียน เบื่ออาหาร ซึม สิ่งอาเจียนมีลักษณะเป็นมูกและมีน้ำดีปนออก มาด้วย ต่อมาท้องร่วงรุนแรง อุจจาระมีเลือดปน กลิ่นเหม็นเน่ามาก สัตว์ป่วยเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายรวดเร็ว ทำให้อ่อนเพลีย และตายในที่สุด
การรักษา
1.ให้สารน้ำ เช่น สารละลายแลคเตต รินเจอร์ (Lactate Ringerus Solotion) ขนาด 90 ลูก บาศก์เซนติเมตรต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับสภาวะของร่างกาย
2.การใช้ยาระงับอาเจียน เช่น ไตรเมโทรเบนซาไมค์ (Trimethobenzamide) ขนาด 3 มิลลิ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยานี้ออกฟทธิ์ที่ศูนย์ควบคุม การอาเจียนที่สมองโดยตรง บาง ท่านนิยมให้ยาระงับอาเจียนจำพวก อะโทนปินซัลเฟต (Atropine Sulphate) ซึ่งก็ให้ผลดี แต่ข้อคำนึงถึง คือ ยานี้มีผลทำให้สารพิคั่งค้างในลำไส้เล็กได้นานขึ้น และมีการดูดซึม สาร พิษกลับเข้าสู่ร่างกายทำให้สุขภาพทรุดโทรมยิ่งขึ้น
3.ให้ยาน้ำคาโอลิน-เพ็คติน (Kaolin-Pectin) เพื่อให้ยานี้เคลือบเยื่อลำไส้และดูดซับสารพิษ ต่าง ๆ แต่ควรให้เมื่อสามารถระงับอาเจียนได้แล้ว
4.ให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย
5.ควรงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จนกระทั่งอาการท้องร่วงทุเราลง การป้องกัน ควรฉีดวัคซีนตามเวลาที่เหมาะสม ครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุได้ 2-2 เดือนครึ่ง และฉีดกระตุ้น ซ้ำเมื่ออายุได้ 3 เดือนครึ่ง-4 เดือน หลังจากนั้นควรฉีดให้สุนัขทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง (หมายเหตุ เนื้อเรื่องมี 2 เรื่อง)
โรคแคงเกอร์ (Canker)
โรคแคงเกอร์เป็นโรคที่เกิดกับหู เป็นกับสุนัขที่สูงอายุโดยเฉพาะสุนัขที่มีใบหูยาว ๆ ทำให้ บวมในหูซึ่ง สัตวแพทย์บางท่าน กล่าวว่าเกิดจากปรสิตเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง แต่ตรงกันข้ามยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดค้นพบปรสิตนี้เลย เมื่อเกิดโรคขึ้นจะสังเกตเห็นเพียงสุนัขสะบัด ศีรษะบ่อย ๆ และมีอาการปวดหูข้างที่บวมอักเสบนั้น ในตอนต้นจะสังเกตเห็นเพียงว่ารูหูของสุนัขเริ่มอักเสบบวมแดงเล็กน้อย ตรงที่เป็นเนื้ออ่อนที่สุด ฉะนั้นถ้าจะทำอะไรให้เขา ก็ควรทำให้เบามือจริง ๆ เมื่อมีอาการป่วยในขั้นแรกถ้าสังเกตที่หูให้ดีแล้วจะมีกลิ่นเหม็นออกมา ซึ่งเป็นอาการป่วยที่เริ่มปรากฏ ถ้าไม่รีบรักษา โรคแคงเกอร์จะกำเริบมากขึ้นและช่องหูจะเต็มไปด้วยหนองกลิ่นเหม็นไหลออกมา ถ้าสุนัขข่วนเกาอยู่เสมอ จะทำให้อาการหนักลงไปเป็นลำดับ โรคนี้รักษาได้หลายทางเป็นต้นว่า โรยผงบอริก (Boricacid powder) เข้าไปในหูแต่จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นผงอะไรมักจะรวมตัวกันเป็นก้อนเกาะจับตามช่องหู วิธีที่ดีที่สุดในการรักษา ก็คือใช้กลีเซอรีนคาบอริก (Glycerine of carboric acid) โปรดจำไว้ว่า กรดคาบอริกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดๆ ก็ล้วนเป็นพิษกับสุนัข ฉะนั้นเวลาใช้จะ ต้องระมัดระวังมาก ควรเอาสำลีพันปลายไม้เล็กๆ แล้วจุ่มกลีเซอรีนคาบอริก บีบพอหมาดๆ แล้วทาเบาๆ ตามช่องหู เช็ดเอาสิ่งโสโครกสกปรกออกให้หมดเท่าที่จะทำได้ ควรทำเช่นนี้ วันละ 2ครั้ง ตอนเช้าและตอนกลางคืน ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งในการรักษา ก็ควรใช้ไฮโดรเยนเปอร์ออกไซด์ชะล้างให้บ้าง กลีเซอรีนคาบอริกจะทำให้ตรงที่บวมค่อย ๆ แห้งและทำลายเชื้อ ทำให้อา การเจ็บบรรเทาลงได้ การใช้กระบอกฉีดยาเข้าไปมักจะทำให้สิ่งสกปรก เคลื่อนลึกเข้าไป และทำให้อาการบวมเรื้อรังต่อไปอีกได้ การรักษาความสะอาดอยู่เสมอ จะเป็นการป้องกันโรคแคงเกอร์ได้เป็นอย่างดีที่สุด ควรทำความสะอาดหูของสุนัขทุก ๆ สัปดาห์ โดยใช้สำลีพันไม้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จุ่มแอลกอฮอล์แล้วบีบให้หมาด ๆ แยงเข้าไปเบา ๆ เพื่อเช็ดเอาสิ่งสกปรกออกมา โปรดจำไว้ว่า เยื่อในหูมีความรู้สึกไวมาก และอาจได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ฉะนั้นควรทำโดยเบามือที่สุด