บทความพิเศษ สนับสนุนบทความโดย โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี สุนัข ถ่ายเป็นเลือด ( Hemorrhagic Gastroenteritis (HGE) อาการถ่ายเป็นเลือด (Hemorrhagic Gastroenteritis or HGE) เป็นกลุ่มอาการที่พบในสุนัข โดยอาการจะเกิดอย่างเฉียบพลันมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด ๆ และถ่ายเป็นเลือดปริมาณมาก และมีค่า Packed cell volume สูง มักเป็นกับสุนัขพันธ์เล็กมากกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ โรคถ่ายเป็นเลือดนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัขที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง การป้องกันจึงไม่สามารถทำได้เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุการเกิด สุนัขมักไม่มีอาการป่วยก่อนหน้าที่จะถ่ายเป็นเลือด บางรายเจ้าของดูแลอย่างดี การรักษามักได้ผลดีถ้าเจ้าของนำสัตว์ป่วยมาทันเวลา โรคที่มีอาการถ่ายเป็นเลือดเมือนโรคนี้ คือ โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส (Parvovirus) เป็นได้กับสุนัขทุกสายพันธุ์ แต่พบมากกับลูกสุนัขที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial enteritis) เป็นการอักเสบของทางเดินอาหารจากเชื้อแบคทีเรียเนื่องจากเชื้อ ซัลโมเนลล่า (Salmonella), คลอสติเดียม (Clostidium) เกิดเนื่องจากสารพิษของแบคทีเรียหรือเนื่องจากเสียเลือดมากๆ เกิดเนื่องจากลำไส้กลืนกันหรือมีการอุดตันของลำไส้ เช่น มีเนื้องอก, สิ่งแปลกปลอม, หรือพยาธิ์ในลำไส้ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตต่ำ ภาวะยูเรียในเลือดสูง (Uremia) เนื่องมาจากภาวะไตวาย ซึ่งยูเรียจะเป็นพิษกับร่างกาย ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารมีอาการอาเจียนและถ่ายเป้นเลือดได้ในบางราย ตับอ่อนอักเสบ โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรค Thrombocytopenia (เกล็ดเลือดต่ำ), ยาเบื่อหนูประเภท warfarin, มีเลือดออกเนื่องจากโรคตับ สารพิษ เช่น โลหะหนักประเภท สารหนู, ทาลเลี่ยม, น้ำยาทำความสะอาดบ้าน และเห็ดบางชนิด สาเหตุ สาเหตุจริง ๆ ยังไม่ทราบว่าเกิดได้อย่างไร แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก พิษจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการช๊อค โรคจากภูมิต้านทานที่เข้าทำลายเยื่อบุลำไส้ การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น คลอสติเดียม สาเหตุโน้มนำ โรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับสัตว์ได้ทุกพันธุ์ เกิดกับสุนัขเท่านั้นโดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์เล็กมีโอกาสเกิดมากกว่าพันธุ์ใหญ่ เช่น พันธุ์ดัชชุน, ชเนาเซอร์, ยอร์คชายเทอร์เรีย, และพูเดิ้ลขนาดเล็ก พบได้มากกว่าพันธุ์อื่น อาการ มีอาการอาเจียนอย่างเฉียบพลัน เบื่ออาหาร ซึม ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาการที่แสดงออกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการที่แสดงออกมักเป็นแบบเฉียบพลันโดยไม่มีอาการล่วงหน้า และสัตว์มักไม่แสดงอาการป่วยมาก่อนหรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพมาก่อนหน้าที่จะเกิดโรค อาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง สัตว์จะเกิดอาการช๊อค, หมดสติ, และตายถ้ารักษาไม่ทันท่วงที การวินิจฉัย ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile) ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ตรวจโรคท้องร่วงจากเชื้อพาร์โวไวรัส เพาะเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระ ตรวจการแข็งตัวของเลือด (Clotting profile) ฉายภาพรังสีช่องท้อง เพื่อดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหารหรือไม่ การรักษา สัตว์ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา ซึ่งการรักษาต้องให้ยาและต้องทำอย่างทันเวลาไม่เช่นนั้นสัตว์จะตาย การรักษามี ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ยาปฏิชีวนะ งดน้ำและอาหารจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงเริ่มให้อาหารอ่อน ควรให้อาหารปั่นที่ไขมันต่ำและกากใยน้อย สัก 1 – 2 สัปดาห์จึงกลับไปกินอาหารเดิม การดูแลและป้องกัน การรักษาจะได้ผลดีขึ้นอยู่กับว่ารักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาหรือไม่ ซึ่งเจ้าของสัตว์ต้องนำสัตว์มาอย่างทันเวลาด้วย เนื่องจากสาเหตุของโรคยังไม่ทราบการป้องกันจึงทำได้ลำบาก โอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคซ้ำมีประมาณ 10 % Dr. Bari Spielman |