|
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA)
จัดสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์
“แนวทางการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ให้มีประสิทธิภาพ” |
|
|
25 เมษายน 2558 เวลา 10.00 น. ณ โรงแรมแคนทารี กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี นายธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ นายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เจ้าหน้าที่ และองค์กรเครือข่ายผู้รักสัตว์ทั่วประเทศ ร่วมประชุมสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ในหัวข้อ “แนวทางการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ให้มีประสิทธิภาพ” โดยมี พล.ต.ต.วีระชัย วิสุทธิอุทัยกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดปราจีนบุรี ผบก.ภ.จว.ปราจีนบุรี และนายสุเทพ ยิ้มละมุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ผู้แทนอธิบดีกรมปศุสัตว์) เป็นประธานร่วมกล่าวเปิดงาน
นายธีระพงศ์ เปิดเผยว่า สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย(TSPCA) ได้ดำเนินงานด้านป้องกันการทารุณกรรมและการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์มาโดยตลอดกว่า 21 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการลดปัญหาการทารุณกรรมและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์อย่างยั่งยืน สมาคมฯ ได้ริเริ่มให้มีการดำเนินการผลักดันกฎหมายเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ขึ้น เพื่อป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ โดยได้ร่วมกับ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรเครือข่ายผู้รักสัตว์ทั่วประเทศ ยกร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ขึ้น จนในที่สุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงมติเห็นชอบ และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 และประกาศเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สมาคมฯ จึงได้การจัดงานสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ขึ้น เพื่อให้เครือข่ายผู้รักสัตว์ได้รับทราบและเข้าใจถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 และได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและประสบการณ์จากเครือข่ายผู้เข้าร่วมสัมมนา ภายหลัง พ.ร.บฯ ประกาศมีผลบังคับใช้แล้ว อีกทั้งยังเสริมสร้างความร่วมมือเครือข่ายผู้รักสัตว์ในการลดการกระทำทารุณกรรมสัตว์และพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น |
|
|
นายธีระพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การมี พ.ร.บ.นี้ นับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลายจากการทารุณกรรม แม้ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการผลักดันพ.ร.บ.นี้ มาแล้วกว่า 10 ปี แต่การไม่มี พ.ร.บ.เหมือนเราไม่มีความพร้อมในการเดินทาง ที่ผ่านมาการทำงานในเรื่องนี้จึงขาดความคล่องตัวเพราะปราศจาก พ.ร.บ.นี้ ฉะนั้นหลังจากมี พ.ร.บ.นี้แล้วทางสมาคมฯ ยังมีงานต้องทำอีกมากมาย กล่าวคือ |
|
|
1. เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบว่า พ.ร.บ.นี้มีขอบเขตในการช่วยเหลือสัตว์และบทลงโทษอย่างไร จะนำไปใช้อย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการสอดส่องดูแล และการลงโทษผู้กระทำผิด ทั้งนี้ TSPCA ต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้รักสัตว์อีกกว่า 90 องค์กร อาสาสมัครของสมาคมฯ หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เป็นต้น เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกันในการทำงานรณรงค์ในเรื่องนี้ ต่อไป |
|
|
2. ประสานงานกับคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อการบังคับใช้ พ.ร.บ.นี้ต่อไป เช่น การออกแนวทาง (Guideline) การออกประกาศ หรือการออกกฎกระทรวง การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ การตั้งจุดมุ่งหมายในกรอบเวลา |
|
|
|
|
3. กระตุ้นเตือน ปลูกจิตสำนึก และเปลี่ยนค่านิยมในด้านการทารุณกรรมสัตว์ เช่น โครงการรักสัตว์ในโรงเรียน การร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการโดยนำบทความที่ชนะการประกวดเกี่ยวกับการปลูกจิตสำนึกในการรักสัตว์ในเด็กกลุ่มตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงชั้นมัธยมปลาย เพื่อนำมาเป็นสื่อเผยแพร่ซึ่งกำลังจะเป็นรูปธรรมในเร็วๆนี้ การนำเอากิจกรรมส่งเสริมความเมตตากรุณาต่อสัตว์เข้าไปอยู่ในหลักสูตรของลูกเสือแห่งชาติ การจัดทำภาพยนตร์โฆษณาปลูกจิตสำนึกต่างๆ และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการรักสัตว์ไม่ทารุณกรรมสัตว์ เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมาคมฯ ขอยกย่อง ชื่นชม และขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทุกท่านที่มีส่วนร่วมกันในการทำความดี ร่วมผลักดันฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการมาต่อเนื่องยาวนานในการเรียกร้องให้มีกฎหมายเพื่อสัตว์อย่างแท้จริง “สัตว์” แม้จะพูดเองไม่ได้ เรียกร้องสิทธิให้ตัวเองไม่ได้เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่สัตว์ก็มีชีวิต จิตใจ ความรู้สึก มีความทุกข์ทรมานเจ็บปวดจากการกระทำของมนุษย์ กฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนช่วยเหลือสัตว์ให้ได้รับการคุ้มครอง และการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนรวมถึงยังสามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีในสายตาของนานาอารยประเทศที่มักจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยในด้านลบเกี่ยวกับเรื่องการทารุณสัตว์ |
|